Pages

10 January 2013

ญี่ปุ่นลดซื้อข้าวจากไทย-หันซื้อพม่าเหตุราคาถูกกว่า



 
                สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยว่า ปัจจุบันราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายรับจำนำข้าว ทำให้หลายประเทศหันไปซื้อข้าวจากประเทศที่มีราคาถูกกว่าแทน เช่น ญี่ปุ่น ที่ลดการซื้อข้าวจากไทยเหลือเพียง 100,000 ตัน จากเดิม 250,000 ตันต่อปี และหันไปซื้อข้าวจากพม่าแทน เนื่องจากราคาข้าวขาวของพม่าอยู่ที่ 380 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,600 บาท) ต่อตัน ในขณะที่ไทยราคาสูงถึง 560-570 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17,100-17,400 บาท) ต่อตัน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่น เช่น เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน พบว่ามีราคาข้าวขาวอยู่ที่ประมาณ 400-425 ดอลลาร์สห! รัฐ (ประมาณ 12,200-13,000 บาท) ต่อตัน
               การที่ญี่ปุ่นหันไปซื้อข้าวจากพม่ายังเป็นการยืนยันถึงคุณภาพข้าวพม่าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากญี่ปุ่นมีความเข้มงวดเรื่องคุณภาพข้าว ซึ่งจะทำให้ประเทศผู้นำเข้ารายอื่นสนใจที่จะนำเข้าข้าวจากพม่าเพิ่มขึ้น
               สำหรับภาวะส่งออกข้าวไทยในช่วง 11 เดือนของปี 2555 มีปริมาณ 6.4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 135,254 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่มีปริมาณ 10.1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 178,809 ล้านบาท โดยข้าวที่ส่งออกมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 684 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปี 2554 ถึง 16% และมีผู้ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ได้แก่ ไนจีเรีย อิรัก แอฟริกาใต้ ไอวอรีโคสต์ และอินโดนีเซีย

ที่มา : แนวหน้า/FTAWatch (10 ม.ค.55)
 
 
 
 
 

07 December 2012

อินโด-ฟิลิปปินส์ เล็งลดนำเข้าข้าวในปี 2556



อินโดนีเซียซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก ได้วางแผนลดการนำเข้าข้าวจาก 1.7 ล้านตันในปีนี้ ให้เหลือ 1.5 ล้านตันในปี 2556 ในขณะที่ฟิลิปปินส์อาจเตรียมยกเลิกการนำเข้าข้าวทั้งหมดในอนาคต ซึ่งนโยบายของทั้งสองประเทศอาจส่งผลกระทบต่อไทย เนื่องจากราคาข้าวของไทยนั้นสูงกว่าประเทศผู้ส่งออกสำคัญ เช่น เวียดนาม เป็นอย่างมาก

ข้าวเมล็ดหัก 25% ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ประเทศเหล่านี้นำเข้า พบว่ามีราคาจำหน่ายตามข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) อยู่ที่ 420 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 13,000 บาท) ต่อตัน สำหรับข้าว! จากเวียดนาม ส่วนข้าวอินเดียอยู่ที่ 410 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,700 บาท) ต่อตัน และข้าวปากีสถานนั้นราคาเพียง 395 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,800 บาท) ต่อตัน ในขณะที่ข้าวไทยนั้นราคาสูงถึง 565 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17,500 บาท) ต่อตัน ทำให้แข่งขันได้ยาก


ที่มา : Bloomberg ( 6 ธันวาคม 2555)

04 December 2012

นักวิชาการชี้ ประเทศเล็กเสียเปรียบในที่ประชุม UNFCCC


นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย (UEA) แห่งสหราชอาณาจักร ได้แสดงทรรศนะผ่านบทความ "Equity and state representations in climate negotiations" เกี่ยวกับสิทธิการออกเสียงในที่ประชุม UNFCCC หรือ COPs (Conference of the Parties) ด้านกรอบการทำงานเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ระบบการลงคะแนนเสียงข้างมากของ UN ทำให้ประเทศด้อยพัฒนาที่มีข้อจำกัดในการตั้งคณะผู้แทนเสียเปรียบทั้งการมีส่วนร่วมและอำนาจต่อรองในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้การลงค! วามเห็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อให้บรรลุข้อตกลง กลายเป็นประเทศใหญ่ที่มีคณะผู้แทนจำนวนมากกว่าได้เปรียบ และนโยบายหรือข้อตกลงที่ผ่านการออกเสียงมักล้มเหลวในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ส่งผลเสียต่อประเทศด้อยพัฒนา การคัดสรรคณะผู้แทนเพื่อเข้าร่วมประชุมควรจะมีการจำกัดจำนวนคณะผู้แทนแต่ละประเทศและคณะผู้แทนทั้งหมด ซึ่งผ่านจัดสรรให้ทั้งภาครัฐและภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน

2. กรอบการจัดการนโยบายด้านสภาวะอากาศในประเทศพัฒนาแล้ว ยังมีความแตกต่างตามโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ในสหราชอาณาจักร มีการเปลี่ยนหน่วยงานรับผิดชอบนโยบายจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และการเกษตร เป็นกระทรวงพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ หรือในสหรัฐฯ ที่ยกระดับการจัดการนโยบายไปสู่ระดับของสภาคองเกรสที่มีอำนาจจัดการสูงขึ้น เป็นต้น

3. ประเด็นความร่วมมือในการสนับสนุนจากหน่วยงาน Non-State Actors (NSAs) เช่น CARE หรือ WWF ต่อก! ารวางแผนนโยบายและยกระดับการจัดการ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปิดโอกาสข! องภาครัฐ ในการให้เข้ามามีส่วนร่วมของ NSAs ทำให้ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความร่วมมือของ NSAs ในการวางนโยบายของแต่ละประเทศ

อนึ่ง การประชุม COPs ล่าสุด จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://sciencepolicy.colorado.edu/admin/publication_files/2012.28.pdf
ที่มา : ScienceDaily (4 ธ.ค.55)

29 November 2012

ศาลสหรัฐฯ สั่งบริษัทยาสูบผลิตโฆษณายอมรับหลอกลวงประชาชน


ผู้พิพากษาศาลแขวงสหรัฐฯ ได้ตัดสินให้บริษัทบุหรี่หลายบริษัทผลิตโฆษณาเพื่อยอมรับว่าได้หลอกลวงประชาชนตามสื่อมวลชนเป็นเวลา 2 ปี โดยอาจกำหนดให้เผยแพร่เนื้อหาว่าก่อนหน้านี้ได้เจตนาโฆษณาว่าบุหรี่ชนิดไลต์และสารทาร์ต่ำมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบธรรมดา และแสดงข้อมูลความเป็นจริงว่ามีผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ จากการสูบบุหรี่เฉลี่ย 1,200 คนต่อวัน เป็นต้น

คำพิพากษาข้างต้นมีจุดประสงค์เพื่อหาข้อยุติในการแก้ไขคำแถลงการณ์ทั้งหมด 5 ข้อความ และอาจเป็นการตัดสินลงโทษที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การฟ้องร้องบร! ิษัทบุหรี่ในข้อหาดังกล่าว โดยในขณะนี้ยังไม่มีบริษัทบุหรี่ที่ออกมาแสดงการโต้ตอบคำตัดสิน แต่คาดว่าจะมีการขออุทธรณ์ต่อไป
ที่มา : ไทยโพสต์ (29พ.ย.55)

27 November 2012

สถานการณ์ส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นตกต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี


สถานการณ์ส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ยุคถดถอยของตลาดทั่วโลกเริ่มขึ้นในปี 2549 ด้วยสาเหตุวิกฤติยูโรโซน และความขัดแย้งทางการเมืองกับจีน โดยยอดส่งออกในปีนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม มีมูลค่า 53.5 ล้านล้านเยน (ประมาณ 20 ล้านล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 ถึง 2.3% และในเดือนตุลาคม 2555 นี้ ปริมาณการส่งออกต่ำกว่าเมื่อเดือนตุลาคม 2554 ถึง 6.5% ส่งผลให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีดุลการค้าติดลบมากเป็นประวัติการณ์ถึง 5.3 ล้านล้านเยน (ประมาณ 2 ล้านล้านบาท) และสถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ โดยคาดว่าปริมาณเศรษฐกิจทั่วญี่ปุ่นอาจหดตัวถึง 0.4%
! ;
ประเทศผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่จากญี่ปุ่น เช่น สหภาพยุโรป นำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นลดลง 20.1% ส่วนจีนลดลง 11.6% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ลดลงถึง 82% ทำให้บริษัทรถยนต์รายใหญ่ เช่น โตโยต้า และนิสสัน ได้รับผลกระทบและเริ่มปรับยอดประมาณการกำไรของปีนี้ลดลงแล้ว
ที่มา : บางกอกโพสต์ (27พ.ย.55)